น้ำนิ่งย่อมไหลลึก น้ำลึกย่อมไร้เสียง

วันนี้เราจะพาเพื่อนๆไปเรียนรู้ข้อคิดการใช้ชีวิตกับบทความ น้ำนิ่งย่อมไหลลึก น้ำลึกย่อมไร้เสียง ไปดูกันว่าทำไมการใช้ชีวิตของคนเราถึงต้องเปรียบเทียบกับน้ำ อยู่เสมอ

เรื่องมีอยู่ว่า..พ่อชวนลูกออ กไปเดินเล่นในป่า ระหว่างทาง พ่อหยุดเดิน แล้วถามลูกว่า.. ‘นอ กจากเสียงนกร้อง แล้วลูกได้ยินเสียงอะไรอีก…?’

ลูกหยุดเดินแล้วฟังก่อนจะตอบว่า.. ‘นอ กจากเสียงนกร้องแล้วยังมีเสียงรถม้าวิ่งอยู่’ พ่อบอ กว่า..’ถูกต้องแล้ว’ ‘นั่น!เป็นรถม้าที่ไม่ได้บรรทุกอะไร’ ลูกแปลกใจจึงถามพ่อว่า.. ‘รู้ได้ไงว่านั่นเป็นรถม้า เปล่า..’ พ่อตอบว่า…’ฟังจากเสียง’ ‘เพราะ..รถม้ายิ่งว่างเปล่า เสียงก็จะยิ่งดัง’ พอโตขึ้นทุกครั้งที่เจอ คนที่ชอบคุยโม้โอ้อวด พูดจาโอหัง

ชอบพูดข่มคนอื่นถือตนเป็นใหญ่ เขามักจะมีความรู้สึก เหมือนพ่อ มายืนกระซิบอยู่ข้างหูว่า…’รถม้ายิ่งว่างเปล่าเสียงก็จะยิ่งดัง’ คนที่มีความเชี่ยวช าญ ในการเดินข้ามห้วยน้ำลำธาร ก่อนที่จะลุยลงน้ำ เขามักหยิบหินขึ้น มาก้อนหนึ่ง แล้วปาไปในน้ำ เพื่อเป็นการคาดคะเนความลึกของน้ำ ละอองน้ำยิ่งกระจายสูงขึ้นเท่าไหร่ น้ำในลำธารก็จะยิ่งตื้นเท่านั้น

ในทางตรงกันข้าม ถ้าละอองน้ำกระเซ็นขึ้น มายิ่งน้อยฉันใดแล้ว ยังบวกกับกระแสน้ำที่ไหลเงียบสนิทพึงสังวรได้เลยว่า… น้ำจะยิ่งลึกมากขึ้นฉันนั้น จำไว้..’น้ำนิ่งไหลลึก น้ำลึกไร้เสียง..รถม้ายิ่งว่างเปล่าเสียงก็จะยิ่งดัง’ ดั่งเช่นคนเรา…!!คน มี ดี แต่ไม่ทำตัวให้โด่ดเด่น ไม่โอ้อวดบารมี

นั่นเป็นวิถีคนจริง หากนำเอาหลักการเหล่านี้ มาเปรียบเปรยกับบุคคล ที่เราพบเจอจะสังเกตุได้ว่า… คนใจเย็นเวลาสนทนากับคนอื่น มักจะสามารถหลีกเลี่ยงการขัดแย้ง กับคู่สนทนา แถมยังสามารถรับรู้ถึงความคิดเห็นของคนอื่น แทนที่จะดันทุรัง เอาแต่ความคิดเห็นตนเป็นใหญ่อยู่ฝ่ายเดียว

คนที่ก้าวเดินด้วยความใจร้อน มักมองไม่เห็นตะปูบนพื้นฉันใด คนที่เต็มไปด้วยความวิตกกังวล ก็ไม่รู้จักรสช าติของวันชื่นคืนสุขฉันนั้น ปฐพีนี้ไม่มีไรใหญ่เกิน มหาสมุทร แต่เหนือสุดกว้างใหญ่กว่า คือเวหา แม้นเวหาจะยิ่งใหญ่ครอบจักรวาล แต่ยังกว้างสู้จิตมนุษย์มิได้เอย

ที่มา ขจรศักดิ์, stand-smiling